จุดสังเกตแฮมเตอร์ป่วย

จุดสังเกตแฮมเตอร์ป่วย
อาการที่พบ : จาม มีน้ำมูก ตาแฉะ ตาปิด หอบ หายใจถี่ หายใจลำบาก อ้าปากหายใจ หายใจมีเสียงดัง พบคราบน้ำลายไหลเปียกคาง ซึม ไม่กินน้ำและอาหาร กินอาหารลำบาก หยิบกินอาหารแล้วหล่นพื้น เลือกกิน นอนมากขึ้น ผอมลง ไม่มีแรง ไม่แต่งตัว ตูดเปียก หากทิ้งไว้อาจเสียชีวิตได้
1. ปัญหาของระบบทางเดินหายใจ
จาม มีน้ำมูก ตาแฉะ ตาปิด หอบ หายใจถี่ หายใจลำบาก อ้าปากหายใจ หายใจมีเสียงดัง แสดงออกถึงโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดอักเสบ หวัด หรืออาการแพ้การใช้สิ่งปูรองที่ไม่เหมาะสม อาการเหล่านี้หาก อาการรุนแรงมากขึ้นอาจมีผลถึงชีวิตได้
2. ปัญหาของสุขภาพฟัน
อาการ พบคางเปียก กินลำบาก ฟันยาว หากฟันยาวมาก อาจทิ่มช่องปาก ทำให้เกิดแผลและการติดเชื้อร่วมด้วยได้ บางกรณี หนู น้ำหนักตัวลดลง ผอม ลง อาจแสดงถึงโรคแทรกซ้อนต่างๆได้
3. ปัญหาของระบบทางเดินอาหาร
พบหางเปียกตลอดเวลา ถ่ายเหลวอุจจาระนิ่ม มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ หากท้องเสียรุนแรง (wet tail) ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
4. ปัญหาผิวหนัง
มีอาการคันเกา ขนร่วง ผิวหนังอักเสบ แดง เปียกอับชื้นโดยเฉพาะใต้ท้อง ชอบนอนทับปัสสาวะหนูที่ป่วยจะขาดการแต่งตัว หรือชอบนอนทับปัสสาวะช่วงอากาศร้อน และพบเป็นปัญหาสุขภาพตามมา

คำแนะนำ :
– การจัดการและโภชนาการอาหารที่ดีคือสิ่งสำคัญ
– เมื่อพบอาการผิดปกติแนะนำพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
– ดูแลเรื่องอุณหภูมิ ความชื้นและการระบายอากาศให้ดี
– ตรวจเช็คการกินได้ของน้ำและอาหารทุกวัน
– ไม่แนะนำให้เลี้ยงในตู้ปลาหรือตู้กระจกเพราะการระบายอากาศไม่ดี
– ไม่แนะนำให้ใช้ทรายอาบน้ำปูรองพื้น เพราะระคายเคืองทางเดินหายใจ และหมักหมม
– ควรทำความสะอาดอุปกรณ์เป็นประจำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ไม่แนะนำให้ทำทุกวันเพราะจะมีผลกับกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงทำให้แฮมเตอร์เครียดได้
– ไม่ควรเลี้ยงแฮมเตอร์ ในกรงเดียวกันจำนวนมาก บางพันธุ์ชอบที่จะอยู่ตัวเดียวมากกว่า
– ควรแยกตัวที่แสดงอาการป่วยออกมารักษาไม่เลี้ยงรวมกัน
NUT GUYSON DVM.
Premier Pet hospital