PREMIER PET HOSPITAL

Avian and Exotic Pet Clinic ตรวจรักษา สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ

Premier Pet Hospital เปิดบริการทุกวัน 9.00-21.00 น.

ตรวจรักษา Exotic Pet กระต่าย นกสวยงาม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เปิดให้บริการรักษาสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ กระต่าย หนู กระรอก ปลา นก เต่า สัตว์เลื้อยคลาน และอีกมากมาย คลินิกกระต่ายและสัตว์ฟันแทะ คลินิกสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษและสัตว์ป่า

OUR SERVICE

VETERINARY TEAM

EXOTIC PET BLOG

ฝังไมโครชิพในสัตว์เลี้ยง
ตรวจรักษาสัตว์เลี้ยง
สังเกตอาการโรคฟันกระต่าย
เลี้ยงกระต่ายต้อง กรอฟันไหม ? By Dr. NUT EP. 1 (คนเลี้ยงกระต่ายต้องดู)
กระต่ายป้อนยาทำไงดี
เกิดอะไร…ทำไม ปลาหงายท้อง?
มือใหม่หัดเลี้ยงลูกป้อน
ห่วงขา VS ฝังไมโครชิพ การระบุตัวตนของนก มี 2 วิธี วิธีแรก คือ การใส่ห่วงขา จะทำตอนนกอายุ 7-10 วันเพื่อให้เกิดความเคยชิน ไม่จิกแทะ โดยจะระบุวันเดือนปีเกิดของนก รหัสพ่อแม่นก ชื่อเจ้าของ หมายเลขโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายไม่สูง เจ้าของสามารถทำเองได้ ปัญหาที่มักพบ คือ กรณีเกิดอุบัติเหตุห่วงติด มักพบขาหัก นกจิกแทะเป็นแผลเพราะห่วงรัด ทำให้ติดเชื้อได้ และกรณีนกหาย คนที่พบสามารถตัดห่วง และไม่สามารถระบุเจ้าของตัวจริงได้ วิธี่ที่ 2 คือ การฝังไมโครชิพ ที่ตัวนก ไมโครชิพจะเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีการระบุรหัสลงไป ขั้นตอนการทำคือ สัตวแพทย์จะทำการฝังไว้บริเวณอกของนก และยิงรหัสด้วยอุปกรณ์เฉพาะให้เจ้าของรับทราบ มีการบันทึกข้อมูลส่วนตัวของนก และออกเอกสารแสดงการเป็นเจ้าของตัวนก ข้อดี ใช้เวลาน้อย ความรู้สึกเดียวกับการฉีดยา ปัจจุบันการฝังไมโครชิพเป็นวิธีที่มีการยอมรับระดับสากล ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการยืนยันตัวนกของคุณ บริการฝังไมโครชิฟทางเลือกใหม่ในการยืนยันตัวสัตว์เลี้ยง “Part ของนก” ที่ผ่านมาเจ้าของจะใช้วิธีการใส่ห่วงขาให้กับนกเพื่อประโยชน์ในการยืนยันหลักฐานในการเป็นเจ้าของแต่การใส่ห่วงขาก็มีโทษมากเช่นกัน โดยปัญหาที่มักจะพบได้บ่อย คือ 1.ห่วงขามักเข้าไปเกี่ยวกับซี่กรงหรือสิ่งอื่นใด ทำให้นกตกใจพยายามดึงเท้าให้พ้นจากการติดขัด นกอาจพยายามแทะนิ้วออก …

ฝังไมโครชิพในสัตว์เลี้ยง Read More »

Readmore
ตรวจรักษาสัตว์เลี้ยง
ฝุ่น PM 2.5 กับผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยง   สัตว์เลี้ยงใส่หน้ากากไม่ได้ทำไงดี? ปัจจุบันฝุ่นพีเอ็ม 2.5 มีผลต่อสุขภาพของเรา อย่างมาก สัตว์เลี้ยงเองก็ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะกลุ่มสัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจหรือในกลุ่มนก สัตว์เลี้ยงหน้าสั้น และสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงนอกบ้านจะได้รับผลกระทบรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากในสัตว์เลี้ยงเองไม่สามารถบังคับให้ใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นได้จึงจำเป็นจะต้องใช้วิธีอื่นๆ ร่วมในการป้องกันรวมถึงสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด วิธีป้องสัตว์เลี้ยงจากฝุ่น PM 2.5 เบื้องต้น หลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน/กลางแจ้ง ปิดประตูหน้าต่าง อยู่ในห้องปรับอากาศที่มีระบบกรองอากาศ เลี้ยงที่เลี้ยงนอกบ้าน กรงนก. ให้นำมาเลี้ยงในบ้านทันที งดออกกำลังกายหนัก วิ่ง/กระโดด สังเกตอาการผิดปกติ คอยฟังสถานการณ์อากาศ หรือโหลดแอปพลิเคชั่นแจ้งสภาพอากาศ อาการผิดปกติที่พบได้ ระคายเคือง แสบจมูก หายใจลำบาก อ้าปากหายใจ ไอ จาม มีน้ำมูก มีเสมหะ เบื่ออาหาร ซึม อ่อนแรง ตรวจรักษาสัตว์เลี้ยง ถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้นให้รีบพามา ที่ Premier Pet Hospital เพราะเรามีทีมสัตวแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง พร้อมทั้งเทคโนโลยี อุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อช่วยดูแล และวินิจฉัย สาเหตุของความเจ็บป่วยในสัตว์เลี้ยงหลากชนิด ประกอบไปด้วย – …

ตรวจรักษาสัตว์เลี้ยง Read More »

Readmore
กระต่ายป่วยทำยังไง
กระต่ายป่วยทำยังไง สังเกตอาการโรคฟันกระต่าย พฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะการเคี้ยว ผิดปกติ มีอาหารหล่นจากปาก กัดฟัน กัดหรือเคี้ยวไม่ขาด เลือกกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเช่นกินแต่อาหารเม็ดหรือกินแต่หญ้าแห้ง รวมถึงการกินน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น กินน้ำลดลงหรือกินน้ำมากผิดปกติ กระต่ายบางตัวกินน้ำเยอะเพื่อลดอาการเจ็บปวดในช่องปาก หน้าบวม หรือ รูปหน้าไม่สมมาตรกัน กระต่ายอาจจะมีอาการเจ็บปวดถ้าเจ้าของสัมผัสบริเวณหน้า หรือมีน้ำตาไหลผิดปกติ ถ้าสังเกตเห็นจะพบความไม่สมดุลของใบหน้า ตาแดงมีน้ำตาขุ่น คล้ายน้ำนม อุจจาระผิดปกติ กระต่ายที่มีปัญหาฟันกรามจะกินอาหารได้น้อยกว่าปกติ ทำให้พบลักษณะอุจจาระที่มีขนาดเล็กลงหรือ มีจำนวนน้อยลง บางครั้งอาจมีปัญหาท้องอืดร่วมด้วยได้ น้ำลายไหล คางเปียก เป็นอาการที่เด่นชัดในปัญหาของกระต่ายมีปัญหาฟันกราม โดยฟันที่มีลักษณะแหลมทิ่มแทงภายในช่องปาก อาจจะทำให้ กระต่ายมีน้ำลายไหลผิดปกติในกระต่ายบางตัวอาจจะมีลักษณะโรคผิวหนังเรื้อรังบริเวณใต้คางอาจเกิดแผลติดเชื้ออักเสบมีกินเหม็นและมีกลิ่นปากได้ น้ำหนักตัวลดลง กระต่ายที่มีปัญหาฟันกรามมักจะกินอาหารได้น้อย ทำให้ผอมลง น้ำหนักตัวลดลง เจ้าของสามารถสังเกตได้ว่ากระต่ายมีอาการผิดปกติ ตามอาการที่ได้กล่าวมานั้น อาการเหล่านี้จะบ่งบอกได้ถึงปัญหาโรคฟันเบื้องต้น หากพบอาการเหล่านี้แนะนำให้นำกระต่ายมาให้คุณหมอตรวจภายในช่องปากโดยคุณหมอจะใช้กล้องส่งภายในช่องปากเพื่อทำการตรวจโดยละเอียดหากมีปัญหาคุณหมอจะทำการวางยาซึมเพื่อแก้ไขต่อไป หากกระต่าย ที่บ้านมีอาการตามที่กล่าวมานี้ รีบพามาพบสัตวแพทย์ กันนะครับ ด้วยความปรารถนาดี NUT GUYSON DVM. PREMIER PET HOSPITAL
Readmore
https://premierpet.clinic/wp-content/uploads/2022/04/vdo1.mp4
Readmore
ถ้าปลาที่คุณเลี้ยงเกิดอาการดังนี้ ซึม ไม่กินอาหาร เสียการทรงตัว ตัวจมลงก้นบ่อ ท้องขยายออกลอยตัวอยู่เหนือน้ำ มีจุดเลือดออกบริเวณผิวหนังที่ลอยอยู่เหนือน้ำนี่คือ อาการของปลาที่มีความผิดปกติของถุงลม ซึ่งความผิดปกติเกิดได้หลากหลายสาเหตุ เช่น คุณภาพน้ำที่ปลาอยู่ไม่ดีหรือน้ำเสีย กินอาหารมากเกินไปหรืออาหารที่ไม่เหมาะสม การติดเชื้อแบคทีเรีย ปรสิตภายนอก ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดหรือพันธุกรรม ที่ทำให้ถุงลมผิดรูปร่างและทำงานผิดปกติ ได้บาดเจ็บ การกระแทกแล้วทำให้ถุงลมแตกเพราะ ถุงลมเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในและมีอากาศอยู่ เป็นอวัยวะที่เกี่ยวกับการทรงตัวและการว่ายน้ำของปลา ทำหน้าที่ปรับความดันของอากาศปลาแต่ละชนิดมีถุงลมที่แตกต่างกัน บางชนิดมี 1 ถุง บางชนิดมี 2 ถุง หรือบ้างชนิดไม่มีเลย ยกตัวอย่าง ปลาที่มีถุงลม เช่น ปลาทอง ปลาคาร์พ ปลาหมอสี ปลาอะโรวาน่า ปลาปอมปาร์ดัว ปลาที่ไม่มีถุงลม เช่น ปลากระเบนดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติของถุงลมแนะนำ ควรพาปลาเข้ารับการรักษา กรณีที่ไม่ตอบสนองด้วยการรักษาทางยา สัตวแพทย์อาจทำการเจาะระบายถุงลมให้สมดุลมากขึ้น แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าปลาจะกลับมาว่ายได้เหมือนเดิม แต่เป็นการประคับประคองให้คุณภาพชีวิตของปลาดีขึ้นดังนั้น เมื่อพบว่าปลาป่วยแนะนำให้รีบพามารักษานะครับ เพื่อคุณภาพชีวิตของปลาที่รัก
Readmore
มือใหม่หัดเลี้ยงลูกป้อน4 ข้อสำคัญของการป้อนลูกนกแก้ว • เลือกอาหารลูกป้อนให้เหมาะสมกับชนิดของสายพันธุ์ เช่น nutribird A18 เหมาะสมกับนกแก้วโนรี nutibird A19 มีไขมันสูงเหมาะสมนกแก้วมาคอร์ nutribird A21 เหมาะกับลูกนกทั่วไป • ปริมาณอาหารเหมาะสม ชั่งน้ำหนักนกก่อนป้อนอาหารเสมอ และคำนวณปริมาณการป้อนให้เหมาะสมต่อความต้องการของนก เช่น นกน้ำหนัก100 กรัม ป้อน 10 ml. (10%ต่อน้ำหนักตัว) • วัดอุณหภูมิก่อนป้อนให้เหมาะสม โดยใช้ เครื่องวัดอุณหภูมิทุกครั้ง โดยช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ที่ 38-41’C เพื่อป้องให้ไม่เกิดการป้อนอาหารเย็นและร้อนจนเกินไป จนทำให้ระบบการย่อยของลูกนกมีปัญหา • กกไฟหรือการให้ความอบอุ่นลูกนกตลอดการป้อน แนะนำให้อยู่ในช่วง 31-32 ‘C หรือมากกว่านี้ตามความเหมาะสมและอายุนก NUT GUYSON DVM.PREMIER PET HOSPITAL
Readmore

TREATER VIDEO

โรงพยาบาลสัตว์เลี้ยง

สัตว์เลี้ยงทุกตัวก็เปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวของเรา หากเขาเจ็บป่วยหรือต้องดูแลเป็นพิเศษ 
การเลือกโรงพยาบาลสัตว์ที่มีความชำนาญและเชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ       โรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงพรีเมียร์เป็นโรงพยาบาลสัตว์ที่รักษาสัตว์เลี้ยงทุกชนิด โดยเฉพาะสัตว์ในกลุ่ม Exotic Pet   โรงพยาบาลของเรามีทีมสัตวแพทย์ที่พร้อมให้บริการประจำทุกวันตลอดเวลาทำการ

      ที่ Premier Pet Hospital ทีมสัตวแพทย์มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง พร้อมทั้งเทคโนโลยี อุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อช่วยดูแล และวินิจฉัย สาเหตุของความเจ็บป่วยในสัตว์เลี้ยงหลากชนิด ประกอบไปด้วย

– คลินิกรักษาสัตว์ จำพวกกระต่าย ทุกสายพันธุ์
– คลินิกรักษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น เม่นแคระ
ชูก้าร์ไกลเดอร์ เฟอเร็ท สกังค์ 
– คลินิกรักษาสัตว์ฟันแทะ เช่น ชินชิล่า กระรอก แพรี่ด๊อก  แก็สบี้  วัลลาบี้ 
– คลินิกรักษาสัตว์ป่า เช่น แพะปิ๊กมี่แคระ หมูแคระ สิงโต ลิงมาโมเส็ท ทามารีน ต่างๆ  Fennec fox.  Batear fox. arctic fox  Genet  บุชเบบี้   คินคาจู. คาปิบาร่า. มาร่า กวาง
– คลินิกรักษาสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู เต่า กิ้งก่า Monitor ทุกสายพันธุ์
คลินิกรักษานก นกมาคอว์  นกเกรย์ ไก่ เป็ด ห่านสวยงาม
คลินิกเคลื่อนที่ ออกนอกสถานที่ 

เราพร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางในการดูแลสัตว์เลี้ยงทุกชนิด เพื่อให้เด็กๆในสังกัดของคุณแข็งแรงและสมบูรณ์

อย่ารอช้า ติดต่อโรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงพรีเมียร์ เพื่อให้สัตว์เลี้ยงของคุณได้รับการดูแลอย่างเป็นพิเศษได้แล้ววันนี้ ที่

โทร 083–064-1980 , 063-727-3070
E-mail : premierpethospital@gmail.com
Line : @premierpet

หรือเข้ามารับคำปรึกษาได้โดยตรงที่ 121 เฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ซอย 71, แขวง ดอกไม้ เขต ประเวศกรุงเทพมหานคร 10250 เปิดบริการทุกวัน 
เวลา 08:30-21:30น. (จอดหน้าในซอย 69 บ้านหลังแรกขวามือ)