Skip to content
Menu
Premier Pet Hospital
  • รวมบทความสาระน่ารู้ Exotic PET
  • สถานที่จอดรถ
  • PREMIER PET HOSPITAL
  • VETERINARY TEAM
  • About
  • Contact
Premier Pet Hospital

Category: Uncategorized

4 Dec 2020

รู้จัก CAT CARE CLINIC By Premier Pet Hospital

คลินิกแมว เพราะแมวคือ “สัตว์เลี้ยงพิเศษ”ธรรมชาติของแมวแตกต่างจากสัตว์ทั่วไป แมวจึงต้องการความพิเศษ ทางโรงพยาบาลจึงเล็งเห็นถึง 3 สิ่งที่มีความจำเป็นมากสำหรับน้องแมวที่เข้ารับการตรวจรักษา จึงได้จัดสรรสิ่งเหล่านี้มอบให้1. คุณหมอเฉพาะทาง ที่มีความชำนาญในการวินิจฉัยและรักษา รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการดูแลและปัญหาเรื่องพฤติกรรม2.ฟีโรโมนช่วยให้แมวมีความสุขและผ่อนคลายขณะตรวจ ลดความเครียดอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนสถานที่ เสียงรบกวนต่างๆ3.ห้องตรวจแมวเฉพาะ เพื่อลดปัญหาเรื่องกลิ่นแปลกปลอม ความวุ่นวาย โดยแยกออกจากสุนัขอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้แมว เมื่อแมวเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล วันจันทร์ 12.00-21.30น. วันพฤหัสบดี 12.00-21.30 น. วันศุกร์ 08.30-17.30 น. วันเสาร์ 08.30-17.30 น. วันอาทิตย์ 08.30-17.30 น. นัดหมาย คุณหมอล่วงหน้าได้เลยครับ 

Read More
3 Dec 2020

เทคนิคการเลี้ยงลูกกระต่ายกำพร้า

เทคนิคการเลี้ยงลูกกระต่ายกำพร้า  เชื่อว่าเวลาไปเดินตามตลาดนัด งานวัด และอีเว้นท์ต่างๆ หลายคนคงเคยเห็นร้านค้าที่นำกระต่ายตัวน้อยมาขาย โดยมักจะอ้างว่า เป็นกระต่ายแคระ แม้ในปัจจุบันจะพบน้อยลงแล้ว แต่ก็ยังมีหลายคนโดยเฉพาะมือใหม่ที่ไม่ทราบว่าจริงๆแล้วเจ้าตัวเล็กเหล่านั้นเป็นกระต่ายเด็กต่างหาก ซึ่งลูกกระต่ายเหล่านี้มีอายุเพียง 2-4 สัปดาห์ ยังต้องการนมแม่ ยังไม่สามารถกินหญ้าได้เอง 100% หากซื้อลูกกระต่ายที่ยังไม่หย่านมมาเลี้ยง ลูกกระต่ายมีโอกาศเสียชีวิตได้ถึง 95% เพราะเป็นกระต่ายที่ยังไม่หย่านมแม่ กินอาหารเองไม่ได้ และยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดีพอ ในกรณีที่ได้รับกระต่ายเด็กมา หรือในกรณีที่แม่กระต่ายไม่เลี้ยงลูกเราควรทำอย่างไรดี วันนี้คุณหมอมีคำตอบมาให้ แน่นอนว่านมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกกระต่ายแรกคลอด คือ “นมจากแม่กระต่าย” แต่ในเมื่อไม่สามารถหาได้จึงจำเป็นที่จะต้องให้นมทดแทน โดยนมที่เหมาะสมที่สุดก็คือ นมทดแทนที่มีสารอาหารใกล้เคียงกับน้ำนมของแม่กระต่ายปกติแล้วในแต่ละวันแม่กระต่ายจะเลี้ยงลูกวันละ 2 ครั้งเท่านั้น รวมแล้วเฉลี่ยเพียง 5 นาทีต่อวัน ในเวลากลางวันลูกกระต่ายจะนอนหลับอยู่ในรังที่ทำจากขนและเศษหญ้าเพื่อให้ได้รับความอบอุ่น และเพื่อป้องกันการถูกล่าตามธรรมชาติ ดังนั้น ห้ามเจ้าของบังคับให้แม่กระต่ายเลี้ยงลูกและควรป้อนนมวันละ 2 ครั้ง เพื่อเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมทางธรรมชาติ นอกจากนี้หากป้อนบ่อยครั้งมากเกินไปอาจทำให้ทางเดินอาหารผิดปกติจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปริมาณการป้อนนมที่แนะนำ ช่วงอายุปริมาณการป้อนนม (ซีซี) 0-1 สัปดาห์ 2-2.5 1-2 สัปดาห์ 5-7 2-3 สัปดาห์ 7-13 3-6…

Read More
3 Dec 2020

สีปัสสาวะของกระต่ายบ่งบอกอะไรได้บ้าง?

สีปัสสาวะของกระต่ายบ่งบอกอะไรได้บ้าง?คุณเคยสังเกตสีปัสสาวะกระต่ายของตัวเองบ้างไหม การตรวจดูสีของปัสสาวะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของกระต่ายคุณได้อย่างที่คุณคาดไม่ถึงสีของปัสสาวะจะมีความแตกต่างกันไป ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาหารที่กิน การให้น้ำ ความเครียด รวมถึงปัญหาสุขภาพปัสสาวะของกระต่ายมีสีและความสม่ำเสมอ โดยปกติแล้วสีปัสสาวะที่สามารถพบได้ก็ตั้งแต่สีเหลืองใสไปจนถึงสีส้ม แต่ถ้าปัสสาวะเป็นสีแดงหรือสีขาวขุ่นนั้นเป็นสีปัสสาวะที่ผิดปกติแต่สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเรื่องปกติสำหรับกระต่ายของคุณ อันตรายที่แท้จริงจะเกิดขึ้น หากคุณเห็นตะกอนหรือเลือดในปัสสาวะ แบบนี้แนะนำว่าควรพาน้องมาพบคุณหมอ ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าแต่ละสีของปัสสาวะกระต่ายบ่งบอกอะไร-สีเหลืองใส >> หมายความว่าสัตว์เลี้ยงของคุณมีสุขภาพดี กินอาหาร หญ้าและน้ำที่ได้ดี ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ-สีเหลืองขุ่น >> เป็นสัญญาณเตือนของแคลเซียมในปัสสาวะมากเกินไป ปัสสาวะสีขาวขุ่น พบได้ในกระต่ายที่มีอายุมากกว่า6เดือนแล้วยังกินอัลฟัลฟ่าซึ่งมีแคลเซียมสูง แนะนำว่า ควรเปลี่ยนหญ้าที่กินเป็นทิโมธี ออรชาร์ดหรือหญ้าที่มีแคลเซียมต่ำแทน-สีส้ม >> กระต่ายมีปัญหาการขาดน้ำ ควรตรวจสอบว่ากระต่ายได้รับน้ำเพียงพอหรือไม่ หากกระต่ายขาดน้ำ จะพบปัสสาวะเป็นสีส้มเข้มข้นขึ้น แนะนำให้กระต่ายได้รับน้ำเพิ่มขึ้น-สีใส >> แสดงว่ากระต่ายมีการกินน้ำที่มากเกินไป เป็นสัญญาณของปัญหาโรคไตในกระต่ายได้ แนะนำให้เจ้าของสังเกตเพิ่มกระต่ายสามารถขับแคลเซียมส่วนเกินออกจากร่างกายได้ แต่ถ้าพบตะกอนออกมามากเกินและบ่อย อาจเป็นสัญญาณของการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ ควรพากระต่ายของคุณไปพบสัตวแพทย์-สีแดง >> เป็นผลมาจากเม็ดสีในกระเพาะปัสสาวะของกระต่าย เกิดจากการกินอาหารและพืชบางชนิด เช่น แครอท ผักขม หรือแม้กระทั่ง ผลเบอร์รี่สีแดง ร่วมถึงการได้รับยาปฏิชีวนะบางตัว แต่ถ้ากระต่ายไม่ได้กินผักผลไม้ที่กล่าวมา และพบส่วนที่เป็นตะกอนหรือลิ่มเลือด อาจบ่งบอกถึงโรคของกระต่ายได้เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นนิ่ว มะเร็งมดลูก การแท้ง…

Read More
23 Apr 201923 Apr 2019

การป้องกัน HEAT STROKE ในสัตว์เลี้ยง

ฤดูร้อนเมืองไทยยังไม่หมด ป้องกันดีกว่าแก้แน่นอน Heat stroke หลายคนรู้จักกันดีว่าอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงแค่ไหน วันนี้เรามารู้วิธีป้องกันกันดีกว่า🔥 📌หลีกเลี่ยงอาการร้อน ไม่มีวิธีไหนจะดีที่สุดเท่ากับการไม่อยู่ในพื้นที่อากาศร้อน ช่วงนี้เปิดแอร์ให้สัตว์เลี้ยงดีที่สุด ถ้าไม่มีแอร์ ให้หาที่อากาศถ่ายเทไม่อบอ้าว เปิดพัดลมระบายอากาศ หรืออาจจะใช้ cool pad เจลเย็น หรือแม้แต่น้ำแข็งสามารถช่วยบรรเทาความร้อนให้สัตว์เลี้ยง 📌 มีน้ำดื่มให้กินตลอดช่วงฤดูร้อนสัตว์เลี้ยงจะมีภาวะขาดน้ำ การมีน้ำให้พอเพียงจะป้องกันภาวะขาดน้ำในสัตว์เลี้ยงได้ อาจจะใส่น้ำแข็งหรือน้ำเย็นเพื่อให้สัตว์เลี้ยงกินน้ำได้มากขึ้น 📌 งดกิจกรรมกลางแจ้งของสัตว์เลี้ยงทุกชนิดในช่วงฤดูร้อน ควรงดกิจกรรมจูงเดินเล่นออกกำลังกายหรือปล่อยสัตว์เลี้ยงเล่นนอกบ้านในช่วงอากาศร้อนโดยเด็ดขาด 📌ดูแลสัตว์เลี้ยงที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษเช่นสุนัขพันธุ์หน้าสั้นสุนัขสายพันธุ์เขตหนาว สุนัขขนยาวหรือสัตว์เลี้ยงพิเศษ เช่น กระต่าย หนูตะเภา ชินชิล่า รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่มีภาวะทางเดินหายใจผิดปกติให้เป็นพิเศษ 🔥ภาวะที่ heat stroke ในสัตว์เลี้ยงถ้าเกิดขึ้นแล้วการแก้ไขทำได้ยากมากเพราะฉะนั้นควรป้องกันตั้งแต่แรกจะดีที่สุด🔥 Nut Guyson DVM. Premier Pet Hospital ✌🏻

Read More
25 Sep 2017

มาทำความรู้จักแพรี่ด็อกกันเถอะ

มาทำความรู้จักแพรี่ด็อกกันเถอะ

Read More
20 Sep 201719 Sep 2017

แสงกับสัตว์เลื้อยคลาน (Light & Reptile)

แสงกับสัตว์เลื้อยคลาน (Light & Reptile) สัตว์เลื้อยคลานต้องการแสงแดดในการดำรงชีวิต หากเจ้าของเลี้ยงแล้วไม่มีเวลาในการพาไปตากแดดยามเช้า สิ่งสำคัญที่เจ้าของต้องมีคือ ‘หลอดจำลองแสงอาทิตย์’ สิ่งที่สัตว์ต้องการคือ UVA UVB แสงที่ใช้มองเห็น และความร้อน – UVA คือช่วงแสงที่คนและสัตว์มองเห็น มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการกินอาหาร การออกหากิน การนอนหลับ การผสมพันธุ์ และความสวยงามของสีสัน – UVB คือ ช่วงแสงที่เรามองไม่เห็น มีส่วนช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามิน D3 มีผลต่อการMetabolism ดูดซึมแคลเซียมเพื่อสร้างกระดูก ป้องกันการเกิดกระดูกบาง (Metabolic Bone Disease) – ความร้อน เพื่อให้ความอบอุ่นร่างกายและกระตุ้นระบบการเผาผลาญการทำงานของร่างกาย ดังนั้น เจ้าของสามารถเลือกซื้อหลอด โคมไฟ และดูค่าหน่วยกำลังไฟฟ้าตามความเหมาะสมของสัตว์ที่เลี้ยงและสถานที่เลี้ยง ด้วยความปรารถนาดี Nut Guyson DVM. Premier Pet Hospital

Read More
18 Sep 201718 Sep 2017

”เมื่อไหร่ถึงจะพาสัตว์มาหาหมอ”

เมื่อไหร่ถึงจะพาสัตว์มาหาหมอ” คำตอบ… -กรณีเพิ่งรับสัตว์เข้าบ้านพามาพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพกันก่อนเข้าบ้านดีที่สุด -กรณีสัตว์ปกติ ควรพามาตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก3-6เดือน -กรณีสัตว์ป่วยเล็กน้อย ซึม น้ำมูกไหล ขี้ตาเยอะผิดปกติ กินน้อย ไม่ค่อยเล่น อึแปลก พามาเถอะครับ อย่างน้อยก็ได้คุยกัน^^ -กรณีป่วยแย่เลย รีบๆๆๆพามาโดยด่วน และอย่าลืมเล่าทุกเหตุการณ์ทุกสิ่งอย่างให้หมอฟังทั้งหมดนะครับ ห้ามปกปิด บอกได้เลยทำอะไรมา บ้านเป็นยังไง มีตังมาน้อย เงินไม่พอ แจ้งกับสัตวแพทย์ได้ จรรยาบรรณสัตวแพทย์หมอทุกคนมี แต่ขอร้อง…อย่าทิ้งสัตว์นะครับ -กรณีฉุกเฉิน อุบัติเหตุ พาเข้า รพส.ที่เปิด 24ชม. ได้เลยครับ พรุ่งนี้เช้าค่อยว่ากันต่อว่าจะย้ายไปที่ไหนดี (คิดกับเค้าให้เหมือนกับชีวิตคนๆนึง) หรือถ้าพาไปไหนไม่ได้จริงๆ ให้เขาอยู่ในที่อบอุ่น ระบายอากาศได้ดี ไม่ให้ตื่นเต้นตกใจ -แนะนำมีเบอร์สัตวแพทย์คนสนิทไว้ครับ ช่วยได้เยอะแต่ถามหมอเขาก่อนนะครับว่าโอเคไหม -สุดท้ายเอาใจช่วยทุกคนที่เลี้ยงสัตว์ด้วยใจรักนะครับ 😊 ด้วยความปรารถนาดี Nut Guyson DVM. Premier Pet Hospital

Read More
18 Sep 201718 Sep 2017

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ไมโครชิพ (Microchip) ในนกแก้ว

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ไมโครชิพ (Microchip) – ไมโครชิพเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็ก บรรจุอยู่ในครอบแก้วที่ผ่านการพิสูจน์จนเชื่อมั่นว่าจะไม่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของร่างกายสัตว์ – หมายเลขภายในไมโครชิพจะถูกกำหนดไว้แล้วจากโรงงานผู้ผลิต เราจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหมายเลขนั้นๆ ได้ – การอ่านหมายเลขก็ต้องใช้เครื่องอ่านไมโครชิพ (Microchip Reader) เป็นตัวแสดงผล – วิธีการติดตั้งไมโครชิพทำได้โดยใช้เข็มที่บรรจุไมโครชิพอยู่ภายในและถูกทำให้ปลอดเชื้อแล้ว ฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณหลังของสัตว์เลี้ยง – ไมโครชิพสามารถอยู่ในร่างกายสัตว์ได้นาน การฉีดไมโครชิพครั้งเดียวสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตสัตว์ โดยไม่ทำปฏิกิริยากับร่างกายแต่อย่างใด – ไมโครชิพในสัตว์ทุกประเภทตั้งแต่ขนาดเล็ก จนกระทั่งสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ ในการฝังไมโครชิพไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวสัตว์ และไม่มีข้อห้ามหลังจากการฝัง – การฝังไมโครชิพ เป็นวิธีการที่อันตรายน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการทำเครื่องหมายอื่นๆ – การฝังไมโครชิพใช้เวลาน้อยมาก ไม่ถึง 1 นาที – การฝังไมโครชิพ ในแต่ละสัตว์มีตำแหน่งที่แตกต่างกัน – เจ้าของสามารถรับบริการนี้ได้จากโรงพยาบาลสัตว์ที่เจ้าของไว้วางใจ หรือสอบถามกับทางโรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงพรีเมียร์ – ประโยชน์ ของการฝังไมโครชิพ เพื่อยืนยันตัวสัตว์เลี้ยง ใน >กรณีขอขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง >กรณีเดินทางไปต่างประเทศ >กรณีพัฒนาสายพันธุ์ >กรณีการซื้อขายไม่ผิดตัว >กรณีสัตว์เลี้ยงหลุดหาย Nut Guyson DVM. Premier…

Read More
17 Sep 201718 Sep 2017

“Metabolic Bone Disease in Sugar Gliders”

“Metabolic Bone Disease in Sugar Gliders” -สามารถพบได้บ่อยและเป็นปัญหาหลัก ชูก้าไกลเดอร์ เพราะเป็นสัตว์ที่ต้องการแคลเซียมจากอาหาร และต้องการวิตามินดี3 ที่ได้จากแสงแดด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก -โรคนี้พบเมื่อปริมาณของแคลเซียมและวิตามินดี3 ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เช่น -เมื่อร่างกายต้องการใช้มากกว่าปกติ (ตอนตั้งท้อง ตอนเลี้ยงลูก) -เมื่อร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ปกติ เช่น สัตว์ไม่เคยได้รับแสงแดด สัตว์ป่วย สัตว์อ้วน สัตว์ขาดสารอาหาร -เมื่อเกิดความไม่สมดุลกัน ร่างกายจึงพยายามดึงแคลเซียมจากส่วนต่างๆมาใช้ -ปัญหาที่ตามมาได้แก่ โรคหัวใจ อาการชัก ปัญหาของปอด และสิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือ กระดูกบางและหักได้ -การวินิจฉัย 1.การซักประวัติอาหารและวิธีการเลี้ยงดู 2.การ X-ray เป็นการเช็ค ความหนา-บางของกระดูก -การป้องกัน 1.ปรับอาหารให้มีโภชนาการที่ครบถ้วน อาหารที่ดีต้องมีพลังงาน โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินและแร่ธาตุ ที่สมดุล 2.การพาไปอาบแดดเช้า เพื่อรับวิตามิน D3 เพื่อใช้ในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ กรณีที่ไม่สามารถพาไปอาบแดดได้ แนะนำให้ใช้หลอดไฟ UVA UVB ด้วยความปรารถนาดี…

Read More
16 Sep 201716 Sep 2017

“Rabbit in towel

“Rabbit in towel,Rabbit burrito” กระต่ายในผ้าขนหนู เทคนิคง่ายๆที่คนเลี้ยงกระต่ายทุกคนต้องรู้ การห่อผ้าคือวิธีการบังคับกระต่าย ให้กระต่ายอยู่ในท่าที่สะดวกต่อการทำงานและตัวกระต่ายเองมีความปลอดภัยมากที่สุด ใช้สำหรับ -การตรวจสุขภาพ -การป้อนยา การป้อนอาหาร -การตรวจช่องปาก ฯลฯ ด้วยความปรารถนาดี Nut Guyson DVM.  Premier Pet Hospital  

Read More
  • 1
  • 2
  • Next

FACEBOOK

FACEBOOK

Hours & Info

Premier Pet Hospital 121 Muban Rom Yen Alley, Khwaeng Dok Mai, Khet Prawet, Krung Thep Maha Nakhon 10250
Tel : 083–064-1980 , 063-727-3070
Mon-Sun 9.00น.-21.00 น.
E-mail : premierpethospital@gmail.com
Line : premierpethospital
©2021 Premier Pet Hospital | Powered by WordPress and Superb Themes!
Premier Pet Hospital
Contact / Proudly powered by WordPress Theme: Draftly.